สอนติดตั้ง WordPress แบบง่ายสุดๆ

การติดตั้ง WordPress ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเว็บโฮสติ้งส่วนมาก จะเตรียมการติดตั้งไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว เพราะเวิร์ดเพรส มีความนิยมในการใช้งานสูงมากๆ จนเป็นเว็บโฮสติ้งแบบพิเศษๆ ที่ทำการจูนให้เข้ากันได้กับ WordPress อย่างยอดเยี่ยม เพื่อประสิทธิภาพ และความเร็วสูงสุด เรียกว่าถูกอกถูกใจผู้ใช้งานแน่ๆ ยิ่งเดี๋ยวนี้ ผู้คนเข้าเว็บไซต์ ผ่านทางมือถือมีเป็นจำนวนมาก ความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์ ยิ่งมีความสำคัญสูงขึ้นไปอีก

การติดตั้ง WordPress ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่รู้ และสำหรับคนที่ไม่รู้ ก็ไม่ยากเช่นกัน ค่อยๆ เรียนรู้ได้ ซึ่งการติดตั้ง WordPress จะมีสองแบบด้วยกัน ส่วนนึงคือการติดตั้งแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องไปยุ่งวุ่นวายกับการสร้าง Database เอง ไม่ต้องงง ไม่ต้องยุ่งยาก ซึ่งเป็นบทความในวันนี้ แต่การติดตั้ง WordPress ด้วยตัวเองแบบ Manual ก็จะทำให้เราเรียนรู้ และเข้าใจ WordPress มากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ ต้องการปรับแต่ง WordPress ในแง่มุมต่างๆ เองในอนาคต เรียกว่า เรียนรู้กันให้คุ้นเคยนั่นเอง

ผมมองว่า ผู้ที่ชื่นชอบ และติดตั้ง WordPress แบบอัตโนมัตินี้ จะเป็นผู้ที่ต้องการใช้งานอย่างแท้จริง เป็นผู้ใช้ที่ดี ไม่ชอบความยุ่งยาก ไม่ชอบปรับแต่ง แต่ต้องการความง่าย เพราะเรื่องของโปรแกรมเบื้องหลัง และหน้าตา ไม่ใช่ปัญหาสำหรับสิ่งที่ต้องการ เช่น ชอบเขียนเรื่องราวต่างๆ เขียน Blog ได้เป็นหน้าๆ ชื่นชอบการเขียนเป็นชีวิตจิตใจ หรือ ผู้ที่มองหาโปรแกรม CMS เพื่อพัฒนาเป็นเว็บช็อปปิ้ง อย่าง WooCommerce ก็ยังได้ ความต้องการเบื้องต้นเหล่านี้ สามารถตอบสนองได้ด้วยการติดตั้งเบื้องต้นเท่านั้น ลึกๆ ลงไปแล้ว ทั้งเรื่องของการทำ SEO และความเร็วของเว็บไซต์ ที่เราสร้างขึ้น ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของการศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม จนถึงลองลงมือทำแน่นอน ดังนั้น หากมีโอกาสแล้ว ลองศึกษาการติดตั้ง WordPress แบบ Manual ดูสักครั้งด้วยนะครับ

หน้าตา control panel ของ Cpanel
หน้าตา control panel ของ Cpanel

ส่วนของ control panel ของ hosting แต่ละแห่ง อาจจะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งบางแห่ง อาจจะมีตัวเลือก ให้เราเลือก ตามความชอบ แต่ตัวที่ได้รับความนิยมสูงสุด และ hosting ดังๆ ตปท ชอบใช้กันก็คือ Cpanel ที่ผมนำมายกเป็นตัวอย่างในวันนี้ ใครที่ใช้ตัวอื่นที่แตกต่างจากนี้ เดี๋ยวจะพยายามหามาเขียน review วิธีติดตั้งให้อีกทีแล้วกัน ขอเวลาไปหา sponsor ก่อนครับ

แรกเริ่มเดิมที หลังจากที่เราเปิด account กับทาง hosting แล้ว ทาง hosting จะส่งรายละเอียดการ login เข้าสู่ control panel ให้กับเรา พร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก และถ้าเราเปิดหน้าเว็บไซต์ ก็จะเจอหน้าเปล่าๆ ว่างๆ หรือเขียนข้อความอะไรแตกต่างไปจากนี้ เช่น แนะนำให้เราเข้าไปในส่วนของ control panel เพื่อแก้ไขหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น

หน้าว่างๆ หน้าแรกที่เราเห็น เมื่อได้ account มา
หน้าว่างๆ หน้าแรกที่เราเห็น เมื่อได้ account มา

กลับไปที่หน้า control panel ของ hosting กัน เดี๋ยวเราจะติดตั้ง wordpress แล้ว ไม่ยากแน่นอน ก่อนอื่น มองหากลุ่มของ Software แล้วเลือก Fantastico F3 ใบหน้ายิ้มๆ น่ารักๆ นั่นแหละครับ

มาที่ Blogs เลือก WordPress
มาที่ Blogs เลือก WordPress

ดูในกลุ่มของ Blog แล้วเลื่อนลงมาหาชื่อ WordPress แล้วคลิกที่ชื่อได้เลย ระบบจะแจ้งรายละเอียด พร้อมทั้ง Version ที่จะถูกติดตั้งให้เรารู้ พร้อมทั้งตรวจสอบความต้องการของ WordPress ก่อนทำการติดตั้งด้วย เป็นความต้องการขั้นต่ำ ที่จะสามารถติดตั้ง WordPress ได้ ซึ่งตอนนี้ผ่านฉลุย Pass ทุกสิ่งอย่าง เขียวทุกบรรทัด

ขั้นตอนการติดตั้ง WordPress ใน Step 1
ขั้นตอนการติดตั้ง WordPress ใน Step 1

การติดตั้ง WordPress ก็เริ่มต้นขึ้นด้วยการสอบถามรายละเอียดต่างๆ จากเรา ซึ่งเราจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน เริ่มจาก username ที่เราจะต้องใช้ในการ login เข้าไปในส่วนของ Admin เพื่อจัดการระบบเว็บไซต์ของเรา จากนั้นก็เลือก password ที่เราต้องการใช้ รวมถึงอีเมล์ด้วยนะ ไม่ใส่ช่องใดช่องหนึ่งไม่ได้เลย ส่วน Other Details เป็นชื่อ Title ของเว็บไซต์ ของเรา เป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร ใส่เป็นข้อความอะไรไปก่อนก็ได้ ถ้ายังนึกไม่ออก เพราะเราไปแก้ทีหลังได้ ถัดมาก็จะเป็น Plugins ซึ่งส่วนนี้ข้ามไปเลยก็ได้ เป็น Plugin ที่ถูกแนะนำโดยโปรแกรมติดตั้งตัวนี้ ไม่ใช่ค่าตั้งต้นของ WordPress จากนั้นกด Submit ได้เลย

เข้ามาหน้านี้ ให้เราตรวจทานอีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะกด Proceed เพื่อไปต่อ
เข้ามาหน้านี้ ให้เราตรวจทานอีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะกด Proceed เพื่อไปต่อ

ถัดมายังคงเป็น Step 1 อยู่ เป็นหน้าแสดงรายละเอียดที่เราเพิ่งจะกรอกไป เพื่อให้เราตรวจทานอีกรอบนึง ถ้าไม่ถูกต้องก็กด back ที่ browser ของเรา เพื่อกลับไปแก้ไข แต่ถ้าถูกต้องครบถ้วนตามต้องการก็กด Proceed เพื่อไปต่อได้เลย

ขั้นตอนที่ 2 หรือ Step 2 เป็นการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 2 หรือ Step 2 เป็นการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 2 เช่นกัน แต่ติดตั้งเสร็จแล้วนะ
ขั้นตอนที่ 2 เช่นกัน แต่ติดตั้งเสร็จแล้วนะ

ผ่านมาถึงขั้นตอนที่ 2 หรือ Step 2 เป็นส่วนของการติดตั้งระบบ โดยจะแสดงเป็น Status ให้เราดูด้วย ใช้เวลาไม่นานนัก จากนั้นก็จะแสดงผลลัพธ์ รายละเอียดต่างๆ พร้อมทั้ง Link ให้เราเข้าไปหน้าเว็บของเราได้ ทั้ง Frontend หน้าเว็บไซต์ และ Backend ซึ่งเป็นส่วนของ Admin ผู้ดูแลระบบอย่างเรา ใครลืม Password นี่จบเลยนะ กลับไปเริ่มต้นใหม่เลยแล้วกัน

ติดตั้งเสร็จแล้ว ก็มาดูหน้าตาเว็บไซต์ WordPress 5.0 ของเราก่อน
ติดตั้งเสร็จแล้ว ก็มาดูหน้าตาเว็บไซต์ WordPress 5.0 ของเราก่อน

WordPress เวอร์ชั่น 5.0 ที่เราเพิ่งจะติดตั้งเสร็จไปนี้ มาพร้อมกับ Theme ที่ตั้งเป็น Default ไว้คือ Twenty Nineteen หน้าตาเป็นแบบนี้ เราจะไปปรับแต่งส่วนต่างๆ ได้ในส่วนของ Backend ซึ่งผู้ดูแลอย่างเรา ต้องได้ใช้งาน

Login เพื่อเข้าไปในส่วนของผู้ดูแล จำ login กับ pwd ได้ไหมเอ่ย
Login เพื่อเข้าไปในส่วนของผู้ดูแล จำ login กับ pwd ได้ไหมเอ่ย
ส่วนการจัดการระบบ สำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์
ส่วนการจัดการระบบ สำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์

ส่วนของผู้ดูแลเว็บไซต์ หรือจัดการระบบ จะมีหน้าตาอย่างที่เห็น เมนูเยอะแยะดูมึนงง เมนูไหนทำอะไร เดี๋ยวมาว่ากันต่อในบทความต่อไป เดี๋ยวจะยาวเกินไปจนอ่านกันไม่ไหว พักสายตากันสักครู่ ก่อนจะตามไปอ่านบทความถัดไปนะครับ

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว จับมาวัดความเร็วกันสักหน่อย
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว จับมาวัดความเร็วกันสักหน่อย

มาดูว่าการติดตั้ง้ WordPress ที่เป็นการติดตั้งแบบเพียวๆ ไม่ปรับแต่งใดๆ และไม่ใช้ Cache บน Hosting ที่ผมเช่าไว้นี้ ได้ความเร็วสักเท่าไหร่ เก็บเอาไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง โดยวัดจาก google PageSpeed Insights นะครับ


Leave a Comment

18 + seventeen =

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.