เรื่องของ WordPress จะให้ดี ต้องมีหมวดหมู่ Category

การเขียนบทความ (Post) บนเว็บไซต์ หรือเว็บเพจ คงหนีไม่พ้นเรื่องของจำนวนบทความ ที่จะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป จะมากจะน้อย อาจจะขึ้นอยู่กับเวลา ความชอบ และความทุ่มเท ของผู้เขียน เมื่อบทความมีเป็นจำนวนมาก เรื่องของการจัดการ Category ก็จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเราทันที ซึ่งเราไม่ควรจะรอให้ถึงเวลานั้น เพราะไม่ถูกหลัก SEO อย่างแรง เราควรจะเตรียมการไว้ตั้งแต่เริ่มต้นวางโครงสร้างเว็บไซต์เลยทีเดียว เพราะการเปลี่ยน Category กลางทาง อาจจะทำให้ การจัดอันดับเว็บของเราร่วงในชั่วเวลาสั้นๆ หรืออาจจะร่วงนานก็ได้ ไม่มีใครรับประกันได้ ไม่มีใครรู้อย่างชัดเจนว่า Search engine อย่าง google พิจารณาเว็บเราอย่างไร

เมื่อเราติดตั้ง WordPress เสร็จ ระบบของ WordPress จะสร้าง Category แบบ Default หรือตั้งค่าเริ่มต้น ให้กับเราเป็น Uncategorized นั่นคือ ไม่มีการจัดกลุ่ม นั่นเองครับ ดังนั้น ก่อนที่เราจะเริ่มเขียนบทความใดๆ ก็ต้องมาพิจารณาสร้าง Category ให้กับบทความของเราก่อน จะได้ไม่ต้องแก้ไขกันทีหลังอย่างที่กล่าวไปแล้ว

Categories : Uncategorized
Categories : Uncategorized

ผมได้ลองเขียนบทความเอาไว้เป็นตัวอย่างแล้ว 1 บทความ ใน WordPress 5.0.2 นี้ แต่ปรากฏว่า Permalink ใน เวอร์ชั่น 5.0.2 นี้ดูเป็นตัวประหลาดหมด ไม่เหมือนใน Version เก่าๆ อย่าง 4.9 ที่คุ้นเคยเลย ซึ่งอ่านเป็นภาษาไทยได้ชัดเจน ก็ต้องข้ามเรื่องนี้ไปก่อน เดี๋ยวคงมี patch ตามออกมาเพื่อปรับปรุงในเรื่องนี้ ในอนาคต ตอนนี้มาพิจารณากันที่หัวข้อ Categories ก่อน

จะเห็นได้ว่า เมื่อเราเขียนบทความอะไรก็ตามลงใน WordPress ระบบจัดการของ WordPress ก็จะเลือก Categories ที่เป็นค่าเริ่มต้นให้ ซึ่งถ้าเรายังไม่เคยไปแก้ไขอะไรเอาไว้ ก็จะมีเพียง Category เดียว ซึ่งเป็น Category ที่มีชื่อว่า Uncategorized ทุกครั้งไป


Posts - Categories เพื่อสร้าง category ใหม่
Posts – Categories เพื่อสร้าง category ใหม่

จากหน้า Admin ของเราบน Back end เลื่อนไปที่ Posts และเลือก Categories เพื่อแก้ไข หรือเพิ่ม category ตามที่เราต้องการ

ป้อนชื่อ Category และตั้งค่าตามที่เราต้องการ
ป้อนชื่อ Category และตั้งค่าตามที่เราต้องการ

เมื่อเราเข้ามายังหน้า Category แล้ว ก็ใส่ค่าต่างๆ ตามที่เราต้องการได้เลย Name คือ Category ของเรา ในที่นี้ตั้ง สอน WordPress เป็นชื่อ Category ส่วน Slug จะปรากฏในช่อง URL ของ Browser ใช้ภาษาไทยได้ แต่อย่ายาว ช่องว่างควรแทนที่ด้วย “-” (hyphens) จึงตั้งให้เกี่ยวข้องกับชื่อเป็น สอน-wordpress ใช้เป็นตัวเล็กทั้งหมด ส่วน Parent Category เป็นการบอกว่า Category ที่เราจะสร้างขึ้นนี้เป็น Category ย่อยหรือไม่ มีหมวดหมู่หลัก ที่อยู่สูงขึ้นไปหรือไม่ ถัดมาเป็น Description จะเป็นคำบรรยายสั้นๆ บนหน้าเว็บไซต์ และ Search engine มักจะนำส่วนนี้ ไปแสดงเป็นรายละเอียดในผลการค้นหา ดังนั้น ควรจะสั้น กระชับ ได้ใจความ

ตอนนี้มีสอง Category แล้ว
ตอนนี้มีสอง Category แล้ว

เมื่อเราทำการเพิ่ม Category ใหม่เข้าไปแล้ว ก็จะมีหน้าตาแบบนี้ ซึ่งเราสามารถจะเพิ่ม Category เข้าไปได้เท่าที่เราต้องการ

Uncategorized ยังตามมาหลอกหลอน
Uncategorized ยังตามมาหลอกหลอน

ถ้าเราไม่ชอบ Uncategorized อยากจะลบทิ้งไปก็ย่อมได้ แต่เราต้องบอก WordPress ก่อนที่จะลบ เพราะต้องตั้ง Category ที่เป็น default ไว้ให้ระบบด้วย ถ้าเราไม่แก้ ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ค่าตั้งต้นที่ WordPress กำหนดให้ ไม่ว่าจะเขียนอีกสักกี่บทความ ก็จะคงเป็น Uncategorized อยู่ตลอดไป

อยากจะเปลี่ยนค่าตั้งต้นสำหรับ Category ไม่ยาก
อยากจะเปลี่ยนค่าตั้งต้นสำหรับ Category ไม่ยาก

ถ้าใครอยากจะเปลี่ยนค่าตั้งต้น หรือ Default สำหรับ Category ใหม่ ไม่เอา Uncategorized เวลาเขียนบทความครั้งต่อไป จะได้ต้องเลือก หรือไม่ต้องลืมเลือก ก็ไม่ยาก ให้ไปที่ Settings และคลิกที่ Writing

Default Post Category แก้ได้อย่างที่ต้องการ
Default Post Category แก้ได้อย่างที่ต้องการ

จะเห็นบรรทัดแรกเลย Default Post Category จะเป็นการเลือก ว่าจะให้ Category ไหนเป็น Category หลัก เป็นค่าตั้งต้นแบบ Default

ในที่นี้เลือก สอน WordPress เป็นค่า Default
ในที่นี้เลือก สอน WordPress เป็นค่า Default

เลือก สอน WordPress เป็น Default หรือ ค่าตั้งต้นของ Category แล้ว จากนั้นก็ Save ค่าที่ตั้งไว้ เมื่อเรากลับไปเขียนบทความใหม่ เขียนเพิ่มอีกสักกี่บทความ WordPress ก็จะเลือก Category ที่ชื่อ สอน WordPress เอาไว้ให้เราทันที ตอนนี้ ใครอยากจะลบ Uncategorized ทิ้งไป ก็ย่อมทำได้อย่างที่ต้องการแล้วล่ะ

Leave a Comment

fourteen − 13 =

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.