การทำเว็บไซต์ โดยเฉพาะ WordPress สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยจริงๆ คือ ระบบ Cache เพื่อให้เว็บเราเบาขึ้น ไม่เป็นภาระของระบบ ไม่เปลืองกำลัง CPU และกินแรมน้อยๆ รวมไปถึงเว็บไซต์ของเราโหลดได้เร็วขึ้น แม้จะเปิดเว็บไซต์เราจากมือถือก็ตาม แต่เมื่อมองหา Cache Plugin ใน WordPress เพื่อมาติดตั้ง กลับต้องพบกับตัวเลือกมากมายจนไม่รู้ว่าจะใช้ตัวไหนดี ใครเป็นแบบนี้บ้าง? ลองมาทำความรู้จักกับ WP Super Cache แบบเจาะลึก ตั้งค่าให้ดี เว็บจะเร็วติดปีกทีเดียว
ขอแนะนำตัวแรกเลย ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเชื่อมั่นในผู้ทำ Plugin ตัวนี้ด้วย ซึ่งก็คือ Automattic ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ WordPress นั่นเอง และ Plugin ตัวนี้ มีผู้ติดตั้งและใช้งานอยู่ ตามสถิติในหน้า Plugin อยู่ที่ 2 ล้านขึ้นไป แบบนี้พอจะเชื่อใจกันได้หรือยังว่าของเค้าดีขนาดไหน
บทความนี้ตั้งใจทีแบบเจาะลึก ไม่ใช่แค่การตั้งค่าตามปกติ แต่จะแวะไปดูไฟล์ที่ฝังตัวอยู่ภายใต้ Folder ที่ชื่อ Cache ของ WP Super Cache กันเลย ด้วยโปรแกรม FTP อ่านจนจบ แล้วคุณจะรู้ด้วยตัวเองว่า ควรตั้งค่าแบบไหน และเพราะอะไรถึงต้องเลือกแบบนั้น

บทความเรื่องการติดตั้ง Plugin ยังไม่ได้เขียน แต่คาดว่าหลายคนน่าจะรู้แล้ว ขอข้ามไปก่อน ตอนนี้เข้าไปหน้าติดตั้ง Plugin ค้นหา WP Super Cache จากนั้นก็คลิก Install และ Activate ตามลำดับ ส่วน Cache Plugin ตัวอื่นๆ ที่เห็นว่าผมติดตั้งไปแล้ว จะได้เขียนนำมาเปรียบเทียบให้อ่านต่อไป อย่าลืมติดตาม

ติดตั้ง Plugin ไม่มาก มีแต่ Cache และ Activate ไว้เพียงเท่านี้ กับ WP Super Cache อีกตัวเดียวเท่านั้น


ทดสอบความเร็วของเว็บไซต์ เอาไว้ก่อน จะได้มีเปรียบเทียบให้ดู เริ่มจาก PageSpeed Insights ของ Google กับ GTmetrix.com เว็บทดสอบความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ ยอดนิยมอีกตัวหนึ่ง ได้คะแนนอย่างที่เห็น

มาเริ่มลงมือตั้งค่า และทดสอบกันดีกว่า เริ่มจากหน้าแรก แบบง่ายสุดๆ Easy easy กันเลย เพราะไม่มีตัวเลือกอะไรให้เลย

คลิกที่ Tab ชื่อ Advance แล้วเลื่อนลงมา จะเห็นคำว่า Cache Location ซึ่งอ้างอิ้งมาจาก Root directory จริงๆ บน hosting ของเรา

เพื่อที่จะลองให้รู้ ดูให้เห็น ต้องแอบเข้าไปส่อง directory ที่ชื่อ Cache ตามที่บอกไว้ใน Plugin ว่ามีอะไรบ้าง ก่อนเปิดใช้งาน Plugin WP Super Cache

อีกเรื่องนึงที่เพิ่งจะนึกออก มีข้อสงสัยว่า หลายๆ เว็บ แนะนำให้แก้ไข Permalink ก่อน แต่อย่างรู้ว่าค่าตั้งต้น เดิมๆ ที่ WordPress ใส่มาให้ใช้งานไม่ได้หรือ คำตอบคือไม่ได้ครับ เหมือน Plugin จะรับรู้ ทดสอบผ่าน ( คลิกปุ่ม test ที่หน้า Easy ) แต่ Preload แล้ว ไม่มีไฟล์เก็บไว้ใน Directory Cache เลย ซึ่งปกติก็ไม่มีใครใช้ชื่อ URL ที่ยาวๆ และดูไม่สวยแบบนี้อยู่แล้วล่ะนะ

ต้องเปลี่ยน Permalink ตั้งต้น มาเป็น Post name ก่อน ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ใครๆ ก็ใช้กัน สั้น กระชับ คนเข้าใจ Bot เข้าใจ จึง Happy กันถ้วนหน้า และดีต่อ SEO อย่างแน่นอน ทีสำคัญ WP Super Cache ก็ทำงานได้ด้วย

กลับมาที่ Plugin WP Super Cache กันต่อ จะใช้งานได้ ก็ต้องเปิดสวิทช์กันก่อน เลือก Caching On แล้วคลิกที่ Update Status เลย

สีเขียวๆ แจ้งว่า Timestamps ที่มาจากไฟล์ทั้งสองนี้ตรงกัน เท่ากับทดสอบผ่านแล้วนะ

ใช้ FTP กลับเข้าไปใน Directory ที่ชื่อ Cache อีกครั้ง พบกับรายชื่อไฟล์ ตามที่เราได้ทดสอบไปเมื่อสักครู่นี้อยู่ด้วย ทดสอบผ่านเรียบร้อยดี

เปลี่ยนมาที่ Tab Advance กันอีกครั้ง ที่เห็นนี้เป็นค่า Default ที่ระบบ Cache ตั้งค่ามาให้ ข้ามไปก่อน เดี๋ยวกลับมาหน้านี้ใหม่

ข้าม Tab CDN ไป ไม่กล่าวถึงตอนนี้ เพราะผมไม่ได้ใช้ ข้ามไป Tab Contents เลย เพื่อดูว่ามีจำนวนไฟล์ที่ถูก Cache เอาไว้ในระบบแล้ว จำนวนเท่าไหร่ กี่ไฟล์ และหมดอายุไปกี่ไฟล์ ซึ่งมีคำอธิบายไว้ด้านล่างว่าแม้จะหมดอายุ ก็ยังถูกใช้งานอยู่ จนกว่าจะถูกรบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และเราจะไปตั้งค่าได้ที่หน้า Advance

มาที่ Tab ชื่อ Preload ต่อ ที่หน้านี้ จะเป็นการสร้าง Cache ไฟล์ไว้ให้กับเราทิ้งไว้ใน directory ที่ชื่อ Cache ก่อนอื่น ตั้งค่าที่ต้องการแล้วคลิกที่ Save Settings ก่อน จากนั้นจึงคลิกที่ Preload Cache Now


เริ่มทำงานแล้ว สังเกตได้จาก ปุ่ม Preload Cache Now ตอนนี้กลายมาเป็น Cancel Cache Preload เรียบร้อยแล้ว

หน้า Cache Contents มีสองส่วน แยกกัน เป็น WP Cache กับ WP Super Cache เมื่อกี้นี้เราเปิดการใช้งาน แต่ไม่ได้ตั้งค่าใดๆ ในหน้า Advance เพิ่มเติมเลย ตอนนี้มีไฟล์ Cache แล้ว 1 ไฟล์

เอาล่ะ วิ่งเข้าไปดู Cache ใน Directory บน Hosting กันอีกทีนึง มีอะไรแล้วบ้าง อ้อ มีไฟล์ index-https.html มาแล้ว หน้านี้เป็นหน้าแรกของเว็บนั่นเอง

ผ่านไปสักครู่ กลับไปที่หน้า Admin ตรวจสอบที่ tab Cache content มีจำนวนไฟล์เพิ่มขึ้นแล้ว ก็กลับมา Refresh ที่ hosting ของเราอีกครั้ง มีโผล่มาอีกเพียบ แต่ชื่อ Directory อ่านไม่ออก เพราะชื่อ permalinks เราเป็นภาษาไทยนี่แหละ แต่ไม่เป็นไร ระบบดึงไฟล์ Cache ออกมาถูกต้องก็พอแล้ว
บทความนี้ดูจะยาวเกินไปสักหน่อยแล้ว เดี๋ยวขอยกไปต่อ ภาค 2 การตั้งค่า WP Super Cache แบบเจาะลึก (ตามไฟล์ Cache ไปดูแบบลึกๆ มีอะไรในไฟล์) เพื่อไม่ให้บทความนี้ยาวจนเกินไป